บัว 4 เหล่า ภายในโคลนนั่นน่ะ มีความเหม็นสาบเหม็นเน่าสารพัดอย่าง แต่ดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งต้นใหญ่ ลำใหญ่ ดอกใหญ่ โคลนทั้งหลายนั้นเป็นปุ๋ยของมัน บัวทั้งหลายมันชอบปุ๋ย ติณชาติทั้งหลายชอบปุ๋ย ได้ปุ๋ยแล้วมันงาม ปุ๋ยนั้นเป็นของโสโครก เป็นของสกปรกเป็นของเหม็น กลิ่นสารพัดอย่าง มันจะเหม็นเท่าไรๆ สกปรกเท่าใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลำมันใหญ่ ยิ่งยาวดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอย่าง อันมันเป็นโคลน ที่เป็นโคลนนี้ ท่านจึงจัดว่า ดอกบัวมันอยู่ในตม ที่มันอยู่ในโคลนนั้นน่ะ ท่านบอกว่า มันเป็นดอกบัวที่เสี่ยงเสี่ยงเพราะอะไร มันอยู่ในโคลนยังไม่มีหวังที่จะพ้นตมมาเลย มันจึงเป็นดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเป็นเหตุที่ว่าเต่ามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินได้ เพราะมันอยู่ในโคลน
จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้ามันหมกอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยู่ในโคลน มัจจุราชตามเอาเป็นอาหารหมดละ มันอยู่ในโคลน มันหนาแน่น มันไม่ได้ยิน มันไม่ได้ฟัง มันไม่ได้อบรม มันหนา มันแน่น มันก็ยังมีที่หวังของมันจะเป็นได้หลายอย่าง จะเป็นปุถุชน หรืออันธภาพชนทั้งหลาย เป็นได้หลายอย่าง แล้วแต่จิตของตน อีกคนหนึ่งนั้น อีกจิตหนึ่งนั้น มันจะพ้นตมขึ้นมาแล้ว แต่มันอยู่ในกลางน้ำ ดอกบัวดอกนี้ก็ยังจะเสี่ยงอยู่เหมือนกัน นี่เพราะว่ามันจะเป็นอาหารเต่าหรือปลาอยู่เสมอ ยังไม่พ้น
เหล่าที่ 3 เสมอน้ำ พ้นตมแต่ยังเสมอน้ำ อันนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ยังจะเป็นอาหารของปลา และเต่าอยู่ทั้งนั้นอันนี้มันเกิดความรู้สึกขึ้นมา มีญาณของพระพุทธเจ้าของเราที่ท่านหยั่งซึ้งลงไปว่า สัตว์โลกเป็นอย่างไร เหล่าที่ 4 นี้ เรียกว่า พ้นโคน พ้นตม พ้นน้ำมาจะบานแล้ว บัว 4 เหล่านี้คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญูเนยยะ ปทปรมะ นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าของเราจึงมาตรัสเสียว่า เออ มันเป็นอย่างนี้อยู่ โลกมันก็ต้องเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่ให้มันเป็นอย่างนี้มันก็ไม่เป็นโลก จะต้องทำอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งโลกนี้ดี จึงทรงชื่อว่า โลกวิทู ในจิตของท่าน รู้แจ้งโลกว่า มันเป็นอย่างนี้ โลกมันเป็นอย่างนี้ เหมือนบัวในตมในโคลนมันเหม็นสาบ ดอกบัวไปเกิดที่ตรงน้ำ มันโผล่น้ำขึ้นมา มันมีกลิ่นหอมน่าทัศนาดูทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพราะดอกบัวดอกนี้มันเกิดมาจากโคลนสกปรก จิตใจของเราทั้งหลายก็เหมือนกันสัตว์โลกทั้งหลายก็เหมือนกัน มันปกปิดอยู่ด้วยอาสวธรรมทั้งหลายทั้งนั้นแหละ ถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกก็ดี ก็ต้องเกิดมาจากโคลนอย่างนั้น มีราคะ
โทสะ โมหะปกคลุมอยู่ทั้งนั้นแหละ หุ้มห่ออยู่ทั้งนั้นแหละ แต่พระพุทธองค์ก็พ้นมาได้ สาวกทั้งหลายก็พ้นมาได้ ท่านแยกกันอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีอันนั้นเป็นเหตุ ผลมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ |
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556
บัวสี่เหล่า
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ความอดทน
ความอดทน
หลวงพ่อชาย้ำอยู่เสมอว่า
ในชีวิตของนักปฏิบัติ
ข้อที่หนึ่งคือ ความอดทน
ข้อที่สองคือ การพิจารณา อดทน อดทน และอดทน
แล้วก็หัดพิจารณา การปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้
ถ้าหากว่าเราไม่มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย
จิตใจของเราจะยินดีบ้าง จะยินร้ายบ้าง
พอเกิดอาการของความยินดีขึ้นมาแล้ว
เกิดอาการของความยินร้ายขึ้นมาแล้ว
โอกาสที่เราจะมองทะลุเข้าไป
เห็นความจริงของอารมณ์นั้นหายไปทันทีเลย
เพราะฉะนั้นเราต้องมีความอดทน
ความจริงแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือการปล่อยวาง
ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นเสีย
แต่ถ้าเรายังปล่อยไม่ได้จะทำยังไง?
ก็ต้องอดทนไว้ก่อน
มุ่งที่จะปล่อยวาง แต่เรายังปล่อยวางไม่ได้
ก็อดทนไว้ก่อน
แค่ความอดทนนี้มันมีอานิสงส์หลายอย่าง
พอจะเกิดอารมณ์ขึ้นมา
มีสติพอเห็นว่ามันเป็นอารมณ์ที่เป็นอกุศล
แทนที่เราจะลุอำนาจต่ออารมณ์นั้น
ปล่อยจิตให้วิ่งตามมัน
เราอดทน ไม่ทำ ไม่พูด อดทน อดทน
ไม่นานนักอารมณ์นั้นก็ค่อยสลายหายไป
แล้วเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่า
อารมณ์นี้เป็นของไม่เที่ยง
เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่ามันสุข
แล้วมันไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา
เราเริ่มเห็นความจริงคือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่แล้วด้วยความอดทน
แต่การที่จะปล่อยวางได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนก่อน
ต้องเห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง
ซึ่งต้องอาศัยการดูด้วยความอดทน
และต้องอาศัยจิตที่นิ่ง สงบ
เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามสร้างความสงบ
ให้มีอยู่ในใจของเรา อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
:: พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
หลวงพ่อชาย้ำอยู่เสมอว่า
ในชีวิตของนักปฏิบัติ
ข้อที่หนึ่งคือ ความอดทน
ข้อที่สองคือ การพิจารณา อดทน อดทน และอดทน
แล้วก็หัดพิจารณา การปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้
ถ้าหากว่าเราไม่มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย
จิตใจของเราจะยินดีบ้าง จะยินร้ายบ้าง
พอเกิดอาการของความยินดีขึ้นมาแล้ว
เกิดอาการของความยินร้ายขึ้นมาแล้ว
โอกาสที่เราจะมองทะลุเข้าไป
เห็นความจริงของอารมณ์นั้นหายไปทันทีเลย
เพราะฉะนั้นเราต้องมีความอดทน
ความจริงแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือการปล่อยวาง
ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นเสีย
แต่ถ้าเรายังปล่อยไม่ได้จะทำยังไง?
ก็ต้องอดทนไว้ก่อน
มุ่งที่จะปล่อยวาง แต่เรายังปล่อยวางไม่ได้
ก็อดทนไว้ก่อน
แค่ความอดทนนี้มันมีอานิสงส์หลายอย่าง
พอจะเกิดอารมณ์ขึ้นมา
มีสติพอเห็นว่ามันเป็นอารมณ์ที่เป็นอกุศล
แทนที่เราจะลุอำนาจต่ออารมณ์นั้น
ปล่อยจิตให้วิ่งตามมัน
เราอดทน ไม่ทำ ไม่พูด อดทน อดทน
ไม่นานนักอารมณ์นั้นก็ค่อยสลายหายไป
แล้วเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่า
อารมณ์นี้เป็นของไม่เที่ยง
เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่ามันสุข
แล้วมันไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา
เราเริ่มเห็นความจริงคือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่แล้วด้วยความอดทน
แต่การที่จะปล่อยวางได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนก่อน
ต้องเห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง
ซึ่งต้องอาศัยการดูด้วยความอดทน
และต้องอาศัยจิตที่นิ่ง สงบ
เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามสร้างความสงบ
ให้มีอยู่ในใจของเรา อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
:: พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ประวัติส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ - ภาวิดา ทวีผลเจริญ
เกิด 23 สิงหาคม 1947
จบ Adventist International School
ทำธุรกิจส่วนตัว
บ้านอยู่ ถนนบรมราชชนนี ใกล้เซ้นทรัลปิ่นเกล้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)